
คำว่า พิการ แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหน แต่ก็คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง หรือ คนในครอบครัวอย่างแน่นอน เพราะนั่นหมายถึงการดูแลที่ยากลำบากอย่างต่อเนื่องอาจจะเป็นแค่ชั่วคราว หรือ ตลอดชีวิตก็ได้ การพิการทางอวัยวะอย่างแขน ขา ก็ว่ายากแล้ว บางรายเป็นหนักกว่านั้นก็คือ พิการทางสมอง หากคนในครอบครัวเรามีโรคนี้ขึ้นมาจะมีวิธีการดูแล รักษาอย่างไร เรามีคำอธิบาย
พิการทางสมองคืออะไร
คำว่า โรคพิการทางสมอง ส่วนมากจะพบในเด็กวัยแรกเกิดเป็นหลัก โรคนี้อธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ สมองจะมีความผิดปกติด้านใดด้านหนึ่งที่ส่งผลต่อร่างกายโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย การทรงตัว การเข้าสังคม หรือแม้แต่การพูดก็ไม่สามารถทำได้ นั่นทำให้เด็กที่เกิดมาเป็นโรคนี้จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนในครอบครัว สาเหตุความผิดปกติตรงนี้ยังเจาะจงสาเหตุชัดเจนลงไปไม่ได้แต่คาดการณ์ว่าโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของมารดาขณะตั้งครรภ์ด้วยส่วนหนึ่ง
โรคที่ไม่ลุกลาม
หนึ่งในเรื่องดีของโรคร้ายนี้ก็คือ หากทารก เด็กคนไหนเป็นโรคพิการทางสมองแล้ว เขาจะไม่เป็นไปมากกว่าเดิม อาการจะไม่ทรุดลงไปกว่าเดิม แต่อาจจะมีอาการแทรกซ้อนขึ้นมาได้เป็นบางช่วง ถือว่ายังดีที่อาการไม่แย่ไปกว่าเดิม บวกกับการฝึกฝนดูแลอย่างใกล้ชิดอาจจะทำให้อาการพิการทางสมองดีขึ้นได้ แม้จะไม่หายขาดแต่หากผู้ป่วยพัฒนาอย่างเต็มที่ให้ความร่วมมือ ก็อาจจะทำให้กลับมาเข้าสู่สังคมปกติได้บ้าง
เรื่องอาหาร
เรื่องแรกสำหรับการดูแลที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษก็คือเรื่องอาหาร เพราะเด็กพิการทางสมองจะมีปัญหาเรื่องการบังคับร่างกายเคี้ยว กลืน ขับถ่ายด้วย เรื่องแรกควรเน้นอาหารให้ครบ 5 หมู่ใน 1 วันเน้นโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโต(อย่างน้อยควรมีไข่วันละ 1 ฟองเป็นอย่างน้อย) สองอาหารควรเป็นแบบข้นหนืด เพื่อให้เคี้ยวได้พอดีกลืนลงคอได้ง่าย สามควรหลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน นมควรเป็นนมจืดจะดีที่สุด
ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนา
เด็กที่มีความพิการทางสมอง ต้องเข้าใจเขาอย่างหนึ่งว่า พัฒนาการของเขาจะช้าถึงช้ามาก อย่างเช่น อายุ 8 เดือนยังไม่สามารถประคองตัวเองให้นั่งได้เลย นั่นทำให้การดูแลเรื่องพัฒนาการพ่อแม่ต้องใส่ใจอย่างมาก เรื่องสำคัญพ่อแม่ต้องพาเข้าฝึกฝนตามพัฒนาการมากกว่าเด็กทั่วไปอย่างน้อย 3 เท่า ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ด้วยการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย พัฒนาการด้านการพูดต้องหมั่นให้เข้าพูดบ่อยๆ เพื่อฝึกการสื่อสารให้เขาได้ ฝึกฝนการรับรู้ความผิดปกติอย่างอาการเจ็บ ขม เผ็ด เพื่อให้เขาแสดงอาการผิดปกติได้ เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้รู้ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้แม้จะไม่ง่ายนักแต่พ่อแม่ต้องสู้เชื่อว่าทำได้แน่นอน